


มีลักษณะแข่งขันสูง หลากหลายและเจนจัด การส่งออกของไทยประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในระดับนานาชาติ ข้าวเจ้าเป็นพืชผลสำคัญที่สุดของประเทศ ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ไปยังตลาดข้าวโลก โภคภัณฑ์การเกษตรอื่นมีทั้งปลาและผลิตภัณฑ์ปลา มันสำปะหลัง ยาง ธัญพืชและน้ำตาล การส่งออกอาหารแปรรูปทางอุตสาหกรรม เช่น ทูน่ากระป๋อง สับปะรด และกุ้งแช่แข็งกำลังมีเพิ่มขึ้น
ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศเกษตรกรรมมาช้านาน เนื่องจากตั้งอยู่ในเขตมรสุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสภาพภูมิประเทศ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร ประชากร ส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพทางการเกษตรหรือเกี่ยวข้องมาโดยตลอด แม้ว่าจะพยายามพัฒนาไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมเพียงใดก็ตาม แต่ก็ยังคงพึ่งพาอาศัยเกษตรกรรมอยู่เช่นเดียวกับประเทศที่ได้พัฒนาไปแล้วทั้งหลาย วิวัฒนาการและพัฒนาการเกษตรของไทยได้เปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และตามกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของโลกมาตามลำดับ
สมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ.1781-1893) การเกษตรในประเทศไทยได้มีการพัฒนามาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ราว พ.ศ.1800 พ่อขุนรามคำแหงทรงมีรัฐประศาสโนบายในทางส่งเสริมและบำรุงการเกษตร โดยประชาชนมีอิสระเสรีในการประกอบอาชีพตามถนัด ที่ดินที่ได้ปลูกสร้างทำประโยชน์ขึ้นก็ให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ปลูกสร้าง และให้เป็นมรดกตกทอดไปถึงลูกหลาน เป็นการให้กำลังใจแก่ประชาชนในอันที่จะหักร้างถางพงปลูกสร้างทำที่ดินให้เกิดประโยชน์2 สมัยนั้นมีระบบปลูกพืชเป็นแปลงขนาดใหญ่นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าคงมีระบบการทดน้ำและระบายน้ำเป็นอย่างดี ทำให้สามารถปลูกพืชเป็นแปลงใหญ่ๆ ได้ เพราะเมืองสุโขทัยเป็นที่ดอน แปลงปลูกพืชที่เป็นป่าก็มีทั้ง ป่าหมาก ป่าตาล ป่าพลู ป่าผลไม้ เช่น มะม่วง มะขาม มะพร้าว ตลอดไปจนถึงไร่และนาซึ่งมีอยู่มากมาย อีกทั้งไม่คิดภาษีจังกอบ เป็นการเพิ่มแรงจูงใจในการทำการเกษตร และทำให้การเกษตรพัฒนามาโดยตลอด
การประกอบอาชีพด้านการเกษตร
เกษตรกรรมในประเทศสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายด้าน คือ
· การทำนา มีการทำทุกภาค แต่ภาคกลางมีการทำนามากที่สุด เนื่องจากมีพื้นที่ทำนามากที่สุดของประเทศ
· การทำสวนยางพารา พบมากในภาคใต้และจังหวัดจันทบุรี ตลอดจนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวไทย นอกจากนี้ ยังมีการปลูกสวนปาล์มน้ำมันด้วยเช่นกัน
· การทำสวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลำไย ส้ม สับปะรด แตงโม กล้วย ขนุน มะม่วง ละมุด พุทรา องุ่น น้อยหน่า ลางสาด
· การทำพืชไร่ เช่น ข้าวโพด อ้อย ปอ ฝ้าย นุ่น ละหุ่ง มะพร้าว มันสำปะหลัง ยาสูบ พริกไทย ตาล ถั่วต่าง ๆ
· การเลี้ยงสัตว์ เช่น สุกร โค กระบือ เป็ด ไก่ ห่าน ไหม ช้าง ม้า ลา ล่อ

นางสาวเสาวลักษณ์ กาญจนคงคา

นายอัคคพล เสนาณรงค์

นายบพิตร ตั้งวงศ์กิจ

นายกมล สุรังค์สุริยกุล

นายอนันต์ เบ้าประเสริฐกุล

นายเลิศ เลิศศิริโสภณ

นายสมสิทธิ์ มูลสถาน

นายบุญเลิศ ชดช้อย

นายวินัย รุ่งฤทธิเดช

นางพัชรินทร์ โพธิ์ศิริสุข

นายพัฒนศักย์ ฮุ่นตระกูล

นายประโยชน์ อรรถธร

นางสาวเอมปวีณ์ ศิระวรรณวิชญ์

นายธีระชัย สากลบรรเจิด

นายญาณพล ลิมปนะโชคชัย

นายณรงค์ นารายพิทักษ์

นายณัฐวุฒิ อัศวราชันย์

นายธีระชัย ไพรัชกุล

นายชัชวัฒน์ รัตนศากยวงศ์

นายชาคร จุลลวาทีเลิศ

นางสาวชนิดา นิคมชัยประเสริฐ

นางสาววุฒิพรรณ อาชานานุภาพ

นายวีระศักดิ์ กุลชัยพานิช

นายประหยัด ก้อนทอง

นางพนิตตา เลี้ยงชีพเสริมสุข

นายกิตติศักดิ์ สุรังค์สุริยกุล

นายจำรัส พานเพียรศิลป์
รายนามสมาชิก | ตำแหน่ง |
---|---|
นางสาวเสาวลักษณ์ กาญจนคงคา | ที่ปรึกษา |
นายอัคคพล เสนาณรงค์ | ที่ปรึกษา |
นายบพิตร ตั้งวงศ์กิจ | ที่ปรึกษา |
นายกมล สุรังค์สุริยกุล | ที่ปรึกษา |
นายอนันต์ เบ้าประเสริฐกุล | ที่ปรึกษา |
นายเลิศ เลิศศิริโสภณ | ที่ปรึกษา |
นายสมสิทธิ์ มูลสถาน | ที่ปรึกษา |
นายบุญเลิศ ชดช้อย | ที่ปรึกษา |
นายวินัย รุ่งฤทธิเดช | ที่ปรึกษา |
นางพัชรินทร์ โพธิ์ศิริสุข | ประธานกิตติมศักดิ์ |
นายพัฒนศักย์ ฮุ่นตระกูล | ประธาน |
นายประโยชน์ อรรถธร | รองประธาน |
นางสาวเอมปวีณ์ ศิระวรรณวิชญ์ | รองประธาน |
นายธีระชัย สากลบรรเจิด | รองประธาน |
นายญาณพล ลิมปนะโชคชัย | เลขาธิการ |
นายณรงค์ นารายพิทักษ์ | รองเลขาธิการ |
นายณัฐวุฒิ อัศวราชันย์ | รองเลขาธิการ |
นายธีระชัย ไพรัชกุล | เหรัญญิก |
นายชัชวัฒน์ รัตนศากยวงศ์ | รองเหรัญญิก |
นายชาคร จุลลวาทีเลิศ | กรรมการ |
นางสาวชนิดา นิคมชัยประเสริฐ | กรรมการ |
นางสาววุฒิพรรณ อาชานานุภาพ | กรรมการ |
นายวีระศักดิ์ กุลชัยพานิช | กรรมการ |
นายประหยัด ก้อนทอง | กรรมการ |
นางพนิตตา เลี้ยงชีพเสริมสุข | กรรมการ |
นายกิตติศักดิ์ สุรังค์สุริยกุล | กรรมการ |
นายจำรัส พานเพียรศิลป์ | กรรมการ |